เมนู

คาถาที่ 3


คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ อุบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วในคาถาแรกนั้นเทียว
เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังปฐมฌานให้เกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า
สมณธรรมประเสริฐ หรือว่า ราชสมบัติประเสริฐ ทรงมอบราชสมบัติในมือ
ของอำมาตย์ 4 คน แล้วทรงกระทำสมณธรรม อำมาตย์ทั้งหลายแม้พระราชา
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงทำโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนทำโดยอธรรม
อำมาตย์เหล่านั้น ไม่รับสินบนก็ทำโดยอธรรม รับสินบนแล้ว ทำเจ้าของ
ทั้งหลายให้แพ้ ในกาลครั้งหนึ่ง ให้ราชวัลลภคนหนึ่งให้แพ้ ราชวัลลภนั้น
เข้าไปเฝ้าพร้อมกับพวกพนักงานห้องเครื่องของพระราชา ทูลบอกเรื่องทั้งหมด
ในวันที่ 2 พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง แต่นั้น หมู่
มหาชนได้ร้องเสียงดังว่า พวกอำมาตย์ทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ได้กระทำ
เสียงดังเหมือนการรบใหญ่.
ลำดับนั้น พระราชาเสด็จลุกจากสถานที่วินิจฉัย เสด็จขึ้นสู่ปราสาท
ประทับนั่งเพื่อทรงเข้าสมาบัติ แต่ไม่อาจเพื่อทรงเข้าได้ เพราะทรงฟุ้งซ่าน
ด้วยเสียงนั้น พระองค์ทรงพิจารณาว่า เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ
สมณธรรมประเสริฐกว่า ดังนี้แล้ว ทรงสละความสุขในราชสมบัติ ทรงยัง
สมาบัติให้เกิดขึ้นอีก ทรงพิจารณาเห็นโดยนัยที่กล่าวในกาลก่อนนั่นแล ทรง
กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ และถูกทูลถามถึงกรรมฐาน จึงได้ตรัส
คาถานี้.

ในคาถานั้น คนทั้งหลาย ชื่อว่า มิตร ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่
ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี ก็คนบางพวกเป็นมิตรเท่านั้นไม่เป็น
สหาย เพราะความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์เกื้อกูลอย่างเดียว บางพวกเป็นสหาย
เท่านั้น ไม่เป็นมิตร เพราะให้เกิดสุขทางใจ ในการทั้งหลายมีการมา การยืน
การนั่ง และการพูดเจรจาเป็นต้น บางพวกเป็นทั้งสหายเป็นทั้งมิตร ด้วย
อำนาจแห่งธรรมทั้งสองนั้น มิตรสหายเหล่านั้นมี 2 พวก คือ ฆราวาส 1
บรรพชิต 1. ใน 2 พวกนั้น ฆราวาสมี 3 พวก คือ ผู้มีอุปการะ 1 ผู้
ร่วมสุขร่วมทุกข์ 1 ผู้อนุเคราะห์ 1 บรรพชิตโดยพิเศษคือ ผู้บอกประโยชน์
มิตรสหายเหล่านั้นประกอบด้วยองค์ 4 อย่างนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้มีอุปการะพึงทราบด้วยฐานะ 4 อย่างคือ
1. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว
2. รักษาทรัพย์สมบัติของมิตรผู้ประมาทแล้ว
3. เป็นที่พึ่งพำนักของมิตรผู้กลัว
4. เมื่อกรณียกิจเกิดขึ้น ก็เพิ่มโภคทรัพย์ให้มากกว่าที่ออก
ปากขอ.
อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบด้วย
ฐานะ 4 อย่าง คือ
1. บอกความลับแก่มิตร
2. ปกปิดความลับของมิตร
3. ไม่ทอดทิ้งมิตรในคราวมีอันตราย
4. ชีวิตก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่มิตร.

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้อนุเคราะห์ พึงทราบด้วยฐานะ
4 อย่าง คือ
1. ไม่ดีใจเพราะมิตรยากจน
2. ดีใจเพราะมิตรมั่งมี
3. ป้องกันคนติเตียนมิตร
4. สรรเสริญคนยกย่องมิตร.
อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้บอกประโยชน์ พึงทราบด้วย
ฐานะ 4 อย่าง คือ
1. ห้ามจากการทำบาป
2. ให้ตั้งอยู่ในคุณความดี
3. ให้ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
4. บอกทางสวรรค์ให้.
เพราะฉะนั้น ฆราวาสท่านประสงค์เอาในที่นี้ แต่โดยอรรถ ฆราวาส
และบรรพชิตแม้ทั้งหมด ก็ควร. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
ความว่า เอ็นดู คือ ประสงค์เพื่อนำเข้ามาซึ่งสุขแก่มิตรสหายเหล่านั้น. บทว่า
หาเปติ อตฺถํ ความว่า ยังประโยชน์ 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิธัมมิก-
ประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ
อีกอย่างหนึ่ง ยังประโยชน์ 3 อย่าง แม้ด้วยอำนาจแห่งประโยชน์ตน ประ-
โยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้ง 2 อย่างนั้น ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ ย่อม
ยังประโยชน์ให้เสื่อม คือ ย่อมให้พินาศ ด้วยการยังวัตถุที่ได้แล้วให้พินาศ
และด้วยการไม่ให้เกิดสิ่งที่ยังไม่ได้บ้าง ด้วยวิธีทั้งสองบ้าง. บทว่า ปฏิพทฺธ-

จิตฺโต ความว่า บุคคลแม้ตั้งตนไว้ในฐานะต่ำต้อยกว่า เราเว้นจากคนนี้จักไม่
เป็นอยู่ คนนั่นเป็นคติของเรา คนนั่นเป็นผู้นำของเรา ดังนี้ ชื่อว่า เป็นผู้
มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว แม้ตั้งตนไว้ในฐานะสูงส่งว่า คนเหล่านี้เว้นเราเสียแล้วย่อม
ไม่เป็นอยู่ เราเป็นคติของคนเหล่านั้น เป็นผู้นำของคนเหล่านั้น ชื่อว่า เป็น
ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว. ก็ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้วอย่างนี้ ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.
บทว่า เอตํ ภยํ ท่านกล่าวหมายถึงภัยที่ยังประโยชน์ให้เสื่อมนั่น
คือ ความเสื่อมจากสมบัติของตน. บทว่า สนฺถเว ความว่า การเชยชมมี
3 อย่าง ด้วยสามารถแห่งการเชยชม คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมิตร. ในการ
เชยชม 3 อย่างนั้น ตัณหาแม้ 108 ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิ
แม้ 62 ประเภท ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ การอนุเคราะห์มิตร ด้วยความเป็นผู้
มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า มิตรสันถวะ มิตรสันถวะนั้น ท่านประสงค์เอาใน
พระสูตรนี้ ด้วยว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เสื่อมจากสมาบัติก็เพราะมิตร
สันถวะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราเล็งเห็นภัยนั่นใน
ที่กล่าวแล้วนั้นแล.
มิตตสุหัชชคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 4


คาถาว่า วํโส วิสาโล ดังนี้ มีอุบัติเหตุอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ 3 องค์ บวชในพระ-
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร